วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

วันพุธ ที่ 11 กันยายน 256


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7


กิจกรรมที่ 1
เรื่อง การวาดรูปแหล่งน้ำ

อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม

1.กระดาษ แผ่น
2.สีเทียน
3.สีไม้








โดยให้นักศึกษาจับกลุ่มช่วยกันวาดรูปแหล่งน้ำโดยไม่ให้บอกว่ารูปที่วาดเป็นแหล่งน้ำใดโดยอาจารย์จะให้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มทายว่าแหล่งน้ำที่วาดคือที่ใด


รูปภาพบรรยากาศ


                

♡ กลุ่มที่ 1 เขื่อนเชี่ยวหลาน


♡ กลุ่มที่ 2 ทะเลแหวก



♡ กลุ่มที่ 3 น้ำตกเจ็ดสาวน้อย



♡ กลุ่มที่ 4 เขื่อนลำตะคอง




♡ กลุ่มที่ 5 แม่น้ำโขง



♡ กลุ่มที่ 6 แม่น้ำเจ้าพระยา


กิจกรรมที่ 2
การสร้างที่กักเก็บน้ำ
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบและสร้างที่กักเก็บน้ำ
โดยมีกำหนดว่าจะต้องสูง 24 เซนติเมตร
ซึ่งจะวัดความแข็งแรงจากการที่วางพานตั้งด้านบนแล้วไม่ล้ม

 อุปกรณ์ในการทำกิจกรรม


1.กระดาษหนังสือพิมพ์
2.ปากกาเมจิก
3.เทปกาว

 รูปแบบที่ร่าง


รูปแบบที่สร้าง





คำศัพท์

The creation    การสร้างสรรค์
Delineation    การวาดภาพ
Analyze     วิเคราะห์
Interpretation    การตีความ
Centimetres     เซนติเมตร

ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้อธิบายและให้ความรู้ได้อย่างเข้าใจง่ายและส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และการรวมกลุ่ม

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายและตอบคำถามได้เป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง

พยายามตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ให้ข้อมูลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์





วันที่ 4 กันยายน 2562


บันทึกการเรียน ครั้งที่6



                                                                กิจกรรมที่ 1


เรื่อง สาระที่เด็กควรรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

สาระที่ควรรู้
♡ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
♡ เรื่องราวที่เกี่ยวกับบุคลและสถานที่สิ่งแวดล้อมเด็ก
♡ ธรรมชาติรอบตัว            
♡ สิ่งต่างๆรอบตัวของเด็ก

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

     ทักษะที่ 1 ทักษะการสังเกต (Observation)
ความหมาย : เป็นวิธีการหาข้อมูลโดยตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ การดู การดม การฟัง การชิม และการสัมผัส ทั้งนี้โดยไม่ใส่ความเห็นหรือประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลงไป
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเป็น ข้อมูลเชิงประจักษ์
     ทักษะที่ 2 ทักษะการวัด (Measurement)
ความหมาย : เป็นการเลือกและการใช้เครื่องมือ ทำการวัดหาปริมาณของสิ่งต่าง ๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้เหมาะสม และถูกต้อง โดยมีหน่วยกํากับเสมอ
     ทักษะที่ 3 ทักษะการจำแนกประเภท (Classification)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือนความแตกต่าง ความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
     ทักษะที่ 4 การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา (Spacs / Spacs Reation and Space /Time Relation)
ความหมาย : เป็นการจัดแบ่งหรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งของที่อยู่ในประสบการณ์ โดยมีเกณฑ์ซึ่งเกณฑ์นั้นอาจใช้ความเหมือน ความแตกต่างความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
    แกมมาออริซานอล Gamma Oryzanol มีคุณสมบัติดังนี้
     ทักษะที่ 5 การคำนวน (Using Number)
ความหมาย : เป็นการนับจำนวนของวัตถุและการนำตัวเลขแสดงจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวน โดยการบวก ลบ คูณ หาร หรือหาค่าเฉลี่ย
     ทักษะที่ 6 การจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communication)
ความหมาย : เป็นการนำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดกระทำเสียใหม่ โดยการหาความถี่เรียงลำดับ จัดแยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลชุดนั้นดีขึ้น โดยการนำเสนอในรูปของตารางแผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม กราฟสมการ หรือการเขียนบรรยาย
     ทักษะที่ 7 การลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring)
ความหมาย:เป็นการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จากการสังเกตอย่างมีเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์เดิมมาช่วย
     ทักษะที่ 8 การพยากรณ์ (Prediction)
ความหมาย : เป็นการาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยประสบการณ์ที่เกิดซํ้า ๆ หลักการ กฏ หรือทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว ในเรื่องนั้นมาช่วยในการสรุป เช่น การพยากรณ์ข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวเลข ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตาราง หรือ กราฟ ซึ่งทำได้ 2 แบบ คือ
1. การพยากรณ์ภายในขอบเขตของข้อมูล
2. การพยากรณ์ภายนอกขอบเขตของข้อมูล
     ทักษะที่ 9 การตั้งสมมติฐาน (Formulating Hypothesis)
ความหมาย:เป็นการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง โดยอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นฐาน
     ทักษะที่ 10 การกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operation)
ความหมาย : เป็นการกําหนดความหมายและขอบเขตของคำต่าง ๆ ที่อยู่ในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เกิดความเข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตได้หรือวัดได้ โดยให้คำตอบเกี่ยวกับการทดลองและบอกวิธีวัด
ตัวแปรที่เกี่ยวกับการทดลองนั้น
     ทักษะที่ 11 การกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables)
ความหมาย : เป็นการบ่งชี้ตัวแปนต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องควบคุมในการตั้ง สมมติฐานหนึ่งๆ
     ทักษะที่ 12 การทดลอง (Experiment)
ความหมาย : เป็นกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อหาคำตอบจากสมมติฐานที่ตั้งไว้ในการทดลอง ซี่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. การออกแบบการทดลอง
2. การปฏิบัติการทดลอง
3. การบันทึกผลการทดลอง
     ทักษะที่ 13 การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป (Interperting Data and Making)
ความหมาย : เป็นการแปลความหมายหรือบรรยายลักษณะข้อมูลที่มีอยู่ การตีความหมายของข้อมูล ในบางครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่น ๆ ด้วย เช่น การสังเกต การคำนวน เป็นต้น และการลงข้อสรุป หมายถึง การสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด การลงข้อสรุป สามารถทำได้ 2 ระดับ คือ
1. การสรุปในระดับแคบ คือ การสรุปให้อยู่เฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือสิ่งที่นำมาศึกษา
2. การสรุปในระดับกว้าง คือ การสรุปที่ออกนอกขอบเขตของกลุ่มตัวอย่างแต่เป็นการขยายกว้างไปสู่ประชากรหรือกลุ่มใหญ่ ข้อสรุปนี้มีความเชื่อถือได้น้อยกว่าแบบแรก

กิจกรรมที่ 2

อาจารย์ให้หาวิดีโอ การทดลองวิทยาศาสตร์



นมกับสีมหัศจรรย์ [การทดลองเรื่องแรงตึงผิว]


คำศัพท์
Process     กระบวนการ
The skills    ทักษะ
Classification     การจำแนกประเภท
Calculation    การคำนวณ
Experiment     การทดลอง


ประเมินอาจารย์
อาจารย์พูดอธิบายและให้ความรู้ได้อย่างเข้าใจ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ให้ความรู้

ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์ให้เกี่ยวกับเนื้อหาการเรียนเพื่อนำมาใช้ประโยชน์

วันพุธ ที่ 28 สิงหาคม 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5 


กิจกรรมที่ 1

อาจารย์พูดคุยเกี่ยวกับบล็อกและสิ่งที่จะต้องสรุปในบล็อก
เพื่อที่จะนำมาเสนอในคาบถัดไปหลังจากนั้นอาจารย์ให้ส่งชื่อของสื่อที่จะประดิษฐ์



กิจกรรมที่ 2

เข้าร่วมกิจกรรม “ ศึกษาศาสตร์วิชาการ

ฐานการเรียนรู้ "การศึกษาปฐมวัย"









ฐานการเรียนรู้ "พละศึกษา"






ฐานการเรียนรู้ "จิตวิทยา"






ฐานการเรียนรู้ "เทคโนโลยี"






⚙️บรรยากาศในงานศึกษาศาสตร์วิชาการ⚙️





คำศัพท์

➢ Activity arrangement  การจัดกิจกรรม
➢ Academic  วิชาการ
➢ Educational games  เกมการศึกษา
➢ Awareness  การให้ความรู้
 Participation  การเข้าร่วม